Take a fresh look at your lifestyle.

คำสั่งพื้นฐานของ Scratch

คำสั่งพื้นฐานของ Scratch Script คำสั่งทำให้ Scratch มีการเคลื่อนไหว สีสัน และปฏิสัมพันธ์ คำสั่งของ Scratch ถูกแบ่งออกเป็นหมวด 10 หมวด คือ Motion, Looks, Sound, Pen, Data, Events, Controls, Sensing, Operators และ More Blocks รวมเป็นคำสั่งมากกว่าร้อยคำสั่ง การท่องจำคำสั่งทั้งหมดอาจไม่มีประโยชน์เลยและไม่ใช่หลักที่ดีในการเขียนโปรแกรม

การใช้จินตนาการสร้างสรรค์ผลงานนั้นสำคัญยิ่งกว่า ฉะนั้นการเรียนเขียนโปรแกรมจึงควรเข้าใจและรู้วิธีการใช้เฉพาะคำสั่งที่ต้องใช้งานเมื่อต้องใช้คำสั่งอื่นจึงค่อยศึกษาในภายหลังเพิ่มเติม (ซึ้งรายละเอียดของคำสั่งทั้งหมดรวบรวมไว้ในภาคผนวก) ในส่วนของคำสั่งพื้นฐานที่นำเสนอมี 5 หัวข้อ คือ (1) คำสั่ง Motion (2) คำสั่ง Pen (3) คำสั่ง Looks (4) คำสั่ง Sound และ (5) คำสั่งทางคณิตศาสตร์ เฉพาะคำสั่งที่ใช้ในเบื้องต้น ดังนี้

คำสั่ง Motion

ในการศึกษาคำสั่ง Motion จะใช้ฉากหลังเป็นกราฟแสดงพิกัดขนาด 480×360 ซึ้งสามารถสร้างเองหรือเพิ่มภาพฉากหลัง xy-grid แล้วย่อขนาดของ แมวสีส้มให้มีขนาดเล็กลง เพื่อให้เห็นตำแหน่งของ sprite บน stage ได้ชัดเจนขึ้น

คำสั่ง Motion คือคำสั่งเคลื่อนที่หรือย้ายตำแหน่งของ Sprite บน Stage มี2 รูปแบบ คือ (1) การย้ายตำแหน่งแบบสัมบูรณ์ และ (2) การย้ายตำแหน่งแบบสัมพัทธ์

  1. การย้ายตำแหน่งแบบสัมบูรณ์ คือการย้ายตำแหนงงไปตามพิกัดตำแหน่งบน Stage ซึ้งมีขนาด 480×360 และกำหนดตำแหน่งพิกัด เช่นเดียวกับกราฟกำหนดตำแหน่งเป็นพิกัด(x, y) โดยมีจุดศูนย์กลางที่พิกัด (0, 0) การย้ายตำแหน่งแบบสัมบูรณ์ มีคำสั่ง 4 คำสั่ง คือ go to, glide to, set x to และ set y to ดังนี้

  2. การย้ายตำแหน่งแบบสัมพัทธ์ คือการย้ายตำแหน่งโดยอ้างอิงตำแหน่งเดิมประกอบด้วยคำสั่งเกี่ยวกับการย้ายตามตำแหน่ง และการย้ายตามทิศทาง

คำสั่ง Pen

คำสั่ง Pen หรือปากกาวาดรูป เช่นเดียวกับคำสั่ง Pen ในโปรแกรมภาษา Logo ที่จะลากเส้นไปตามเส้นทางที่เต่าเคลื่อนที่ ดังนั้นจึงสามารถใช้ Scratch ศึกษาการเขียนโปรแกรมภาพกราฟิกได้เช่นเดียวกัน คำสั่ง pen จะต้องใช้ควบคู่กับคำสั่ง Motion เพื่อใช้ในการวาดรูป มีคำสั่งได้แกง pen down, pen up, set pen size to, set pen color to และ clear ดังนี้

  1. คำสั่ง pen down หรือจรดหัวปากกา (เริ่มวาด) เมื่อลากบล็อกคำสั่ง pen down ตามด้วยคำสั่ง point in direction 45 และ move 100 steps แล้ว run โดยการคลิกที่บล็อกคำสั่ง คำสั่ง pen down จะทำการลากเส้นตามเส้นทางการเคลื่อนที่ของตัว Sprite ไม่ว่า Sprite จะเคลื่อนที่ไปที่ใด

  2. คำสั่ง pen up หรือยกหัวปากกา เป็นคำสั่งยกเลิกการลากเส้นตามเส้นทางที่เคลื่อนที่เมื่อสั่ง pen down ตามด้วย go to x:100 y:100 Scratch จะลากเส้นจากจุด (0,0) ไปยังจุด(100,100) แต่เมื่อสั่ง pen up ตามด้วย go to x:-50 y:50 ตัว Sprite จะย้ายตำแหน่งไปที่จุด(-50,50) โดยไม่ลากเส้นตามเส้นทาง

  3. คำสั่ง set pen size to ( ) เป็นคำสั่งกำหนดขนาดหัวของปากกา

  4. คำสั่ง set pen color to ( ) เป็นคำสั่งกำหนดสีของปากกา ซึกกงมีบล็อกคำสั่งอยู่ 2 คำสั่งคือ กำหนดสีตามค่าตัวเลข และกำหนดสีปากกา

  5. คำสั่ง Clear เป็นคำสั่งล้างรูปวาดทั้งหมดที่ Scratch วาดขึ้น

คำสั่ง Looks

คำสั่ง Looks เป็นคำสั่งเกี่ยวกับการแสดงผล โดยแบ่งเป็นการแสดงผลข้อความและการแสดงผลภาพ ดังนี้

  1. การแสดงผลข้อความ Scratch จะแสดงข้อความผ่านตัว Sprite ซึ้งมีอยู่ 2 ลักษณะคือการพูด (say) และการคิด (think) ทั้งสองแบบคล้ายกัน แตกต่างตรงลักษณะของตัว callouts ที่แสดงให้เห็นว่าเป็นการพูดหรือการคิด ดังนี้
คำสั่งพื้นฐานของ Scratch
คำสั่งพื้นฐานของ Scratch

1.1 การพูด มีคำสั่ง 2 คำสั่งคือ say ( ) และ say ( ) for ( ) secs โดยคำสั่ง say ( ) เป็นการสั่งให้พูด โดยข้อความจะปรากฏตลอดจนกว่าจะสั่งคำสั่งเป็นอย่างอื่น สงวน say ( ) for ( ) secs จะแสดงข้อความการพูดค้างไว้ตามเวลาที่กำหนด เมื่อลากบล็อกคำสั่ง say ( ) พิมพ์ข้อความ \”สวัสดีครับ\” ในช่องของคำสั่ง แล้ว run โดยการคลิกที่บล็อกคำสั่ง จะปรากฏผล ดังนี้

คำสั่งพื้นฐานของ Scratch
คำสั่งพื้นฐานของ Scratch
คำสั่งพื้นฐานของ Scratch
คำสั่งพื้นฐานของ Scratch

1.2 การคิด มีคำสั่ง 2 คำสั่งคือ think ( ) และ think ( ) for ( ) secs โดยคำสั่ง think ( ) เป็นการสั่งให้คิด โดยข้อความจะปรากฏตลอดจนกว่าจะสั่งคำสั่งเป็นอย่างอื่น ส่วน think ( ) for ( ) secs จะแสดงข้อความการคิดค้างไว้ตามเวลาที่กำหนด เช่นเดียวกับคำสั่งการพูดดังนี้

คำสั่งพื้นฐานของ Scratch
คำสั่งพื้นฐานของ Scratch
คำสั่งพื้นฐานของ Scratch
คำสั่งพื้นฐานของ Scratch
  1. การแสดงผลภาพ เป็นคำสั่งจัดการภาพทั้ง Sprite และ Back drop แต่ในที่นี้จะเสนอในส่วนของ sprite เท่านั้น ในส่วนของ backdrop มีลักษณะการใช้คำสั่งเช่นเดียวกัน แบ่งคำสั่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ (1) ซ่อน/แสดง sprite (2) เปลี่ยน costume และ (3) effect ดังนี้

2.1 ซ่อน/แสดง sprite เป็นคำสั่งให้แสดงและไม่แสดง (ซ่อน) ตัว Spriteประกอบด้วยคำสั่ง 2 คำสั่งคือ hide (ซ่อน) และ show (แสดง)

ตัวอย่างการใช้คำสั่ง hide

ตัวอย่างการใช้คำสั่ง show

2.2 เปลี่ยน costume หรือการเปลี่ยนลักษณะของตัว Sprite เพื่อใช้แสดงเรื่องหรือกิริยาต่าง ๆ เช่นพูด เดิน กระโดด ต่อสู้ เป็นต้น คำสั่งที่ใช้ในการเปลี่ยน costume มี 2 คำสั่งคือ next costume และ switch costume to ( )

แสดง costume เริ่มต้นของ sprite แมวสีส้มในชิ้นงานใหม่

เมื่อลากบล็อกคำสั่ง next costume แล้ว run โดยการคลิกที่บล็อกคำสั่ง จะปรากฏผล ดังนี้

แสดงตัวอย่างคำสั่ง next costume

ภาพของ Sprite จะเปลี่ยนเป็นภาพ costume ถัดไป จากนั้นทำการเพิ่ม Sprite จาก library รูปไดโนเสาร์ ซึ้งมี 7 costumes แล้ว run โดยการคลิกที่บล็อกคำสั่ง ภาพ costume จะเปลี่ยนตามลำดับ

2.3 คำสั่ง effect ภาพ มีอยู่ 3 คำสั่ง คือ set ( ) effect to ( ) , change ( ) effect to ( ) และ clear graphic effects

การกำหนดชนิดของ effect

คำสั่ง Sound

คำสั่ง Sound หรือเสียง สำหรับ Scratch มี 3 กลุ่ม คือคำสั่งเล่นเสียงดนตรี คำสั่งเล่นเสียงที่กำหนดและคำสั่งจัดการเสียง ดังนี้

  1. คำสั่งเล่นเสียงดนตรี ใน Scratch ประกอบด้วยเครื่องดนตรี 2 ประเภท คือเครื่องดนตรีให้จังหวะ และเครื่องดนตรีบรรเลง

  2. คำสั่งเล่นเสียงที่กำหนด เป็นคำสั่งเล่นเสียงที่กำหนดใน แท็บ Sound ซึ้งอาจเลือกจาก Library บันทึกเสียงเอง หรือนำเข้าจากไฟล์ ประกอบด้วยคำสั่ง 2 คำสั่งคือ play sound ( ) และ play sound ( ) until done

  3. คำสั่งจัดการเสียง เป็นคำสั่งกำหนดค่าเกี่ยวกับเสียง ที่ใช้บ่อยได้แก่ stop all sounds และ set volume to ( ) %

คำสั่งจัดการข้อความ

คำสั่งจัดการข้อความใน Scratch มี 3 คำสั่งคือ join ( ) ( ), letter ( ) of ( ) และ length of ( )

ขอบคุณข้อมูล http://comedu.nstru.ac.th/5581135051/index.php/4

ความเห็นถูกปิด

QR Code Generator | สร้างรหัส QR ของคุณได้ฟรี - สร้าง QR Code ออนไลน์อย่างง่ายและฟรี