จิตวิทยาการศึกษาปรัชญาการศึกษา และจรรยาบรรณ สำหรับครู
ทฤษฎี นักจิตวิทยา KeyWord สำคัญ
-
กลุ่มไลน์ข่าวการศึกษา
กลุ่มไลน์ข่าวการศึกษา
ทฤษฏี พัฒนาการ
ที่ |
ทฤษฏี |
แนวคิด |
กุญแจสำคัญ |
ลำดับขั้น |
ประยุกต์ใช้ในชั้นเรียน |
1 |
ฟรอยด์ |
บุคลิกภาพ |
ฟรอยด์ เชื่อว่าบุคลิกภาพส่วนใหญ่ของมนุษย์ที่แตกต่างกัน เป็นผลมาจากประสบการณ์ของแต่ละคนในแต่ละช่วงวัย ขึ้นอยู่กับแต่ละคน การแก้ปัญหาความขัดแย้งของในแต่ละช่วงวัยอย่างไร โดยในช่วงอายุ 0-6 ปีแรกของชีวิตจะมีความสำคัญมาก |
5 ขั้น |
ต้องรู้วัยพัฒนาการของเด็ก ต้องรู้ว่าวัยไหนควรจัดการเรียนแบบไหนเมื่อรู้แล้ว เราสามารถวางแผนการสอนได้ถูกต้อง และเมื่อมีปัญหาก็สามารถที่จะแก้ไขได้ทันถ่วงที |
2 |
อีริคสัน |
เรียนรู้ตลอดชีวิต |
พัฒนาการเริ่มตั้งแต่อายุ 0 ปี จนถึงวัยชรา(ตลอดชีวิต) และทุกๆการพัฒนานั้นจะขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมต่างๆที่พบเจอในสังคม ส่วนวัยผู้ใหญ่จะเป็นอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับช่วงเวลาในวัยเด็ก |
8 ขั้น |
ไม่ควรที่จะคำนึงถึงประสบการณ์ของเด็กเพียงอย่างเดียว แต่ต้องคำนึงถึงขั้นพัฒนาการของเด็กด้วย ซึ่งสิ่งนี้ จะช่วยให้ครูเข้าใจเด็กมากยิ่งขึ้น และสามารถวางแผนการสอนได้อย่างถูกต้อง |
3 |
โรเบิร์ต เจ. ฮาวิกเฮิร์ส |
พัฒนาการตามวัย |
พัฒนาการของคนไม่ได้ขึ้นอยู่กับร่างกายเพียงอย่างเดียว แต่สังคมและวัฒนธรรมก็ยังเป็นปัจจัยทางจิตวิทยาของแต่ละคน |
6 ขั้น |
ครูสามารถที่จะจัดรูปแบบการเรียนการสอน โดยให้ผู้เรียนเรียนรู้จากสิ่งที่เป็นรูปธรรม เรียนรู้จากของจริงให้มากที่สุด เช่น ถ้าสอนวิชาประวัติศาสตร ก็จะพาผู้เรียนไปทัศนศึกษาสถานที่ประวัติศาสตร์ต่างๆ |
4 |
โคลเบิร์ก |
พัฒนาการทางจริยธรรม |
รู้การผิดชอบชั่วดีของมนุษย์ |
6 ขั้น |
ครูสามารถที่จะควบคุมผู้เรียน โดยการกฎเกณฑ์ต่างๆ ในชั้นเรียนครูจะสามารถส่งเสริมให้ผู้เรียนมีเหตุผลในการตัดสินใจ |
5 |
เปียเจท์ |
ความคิดและจริยธรรม |
ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กมีกี่ขั้นตอนหรือกระบวนการอย่างไร ตั้งอยู่บนรากฐานของพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม |
4 ขั้น |
ครูสามารถที่จะจัดสื่อในการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียนครูสามารถฝึกการทำงานเป็นกลุ่มของผู้เรียนครูจะสามารถให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน |
6 |
บรูเนอร์ |
พัฒนาการทางด้านความคิด |
การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสังคมที่ผู้เรียนจะต้องลงมือปฏิบัติ และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ทั้งนี้ โดยมีพื้นฐานอยู่บนประสบการณ์หรือองค์ความรู้เดิม |
3 ขั้น |
ครูสามารถที่จะสร้างแรงจูงใจให้กับผู้เรียน โดยสามารถคำนึงถึงความเหมาะสมของผู้เรียนแต่ละคน |
ทฤษฏี การเรียนรู้
ที่ |
ทฤษฏี |
แนวคิด |
กุญแจสำคัญ |
ลำดับขั้น |
ประยุกต์ใช้ในชั้นเรียน |
1. |
พาฟลอฟ |
การเรียนรู้แบบวางเงื่อนไข |
การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตมักเกิดจากการวางเงื่อนไข จนนำไปสู่การเกิดพฤติกรรมตอบสนองต่อสิ่งเร้า ซึ่งสามารถอธิบานเพิ่มเติมได้ว่า เมื่อพฤติกรรมเหล่านี้เกิดขึ้นซ้ำหลายๆครั้ง จนผู้ถูกวางเงื่อนไขเกิดการเรียนรู้ ครั้งต่อไปก็จะเกิดพฤติกรรมตอบสนองโดยอัตโนมัติ เพียงแค่มีสิ่งเร้าเกิดขึ้น โดยไม่ต้องบอกเงื่อนไขซ้ำอีก |
3 ขั้น |
ครูสามารถใช้หลักการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยทำความเข้าใจถึงพฤติกรรมมตอบสนองของผู้เรียน |
2. |
วัตสัน |
การเรียนรู้แบบวางเงื่อนไข |
ทุกๆพฤติกรรมต่างๆของมนุษย์จะเกิดขึ้นภายใต้อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมคนเราเกิดมาจะมีปฏิกิริยาทางอารมณ์ที่ติดตัวมาโดยไม่ต้องเรียนรู้อยู่ 3 อย่าง คือความกลัว ความโกรธ ความรัก |
2 ขั้น |
ครูสามารถที่จะหลักการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ ในการควบคุมผู้เรียน ครูจะสามารถวางเงื่อนไขให้ผู้เรียนมีพฤติกรรมตามที่พึงประสงค์ได้ |
3. |
ธอร์นไดท์ |
การเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก |
เป็นการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองโดยการตอบสนองจะแสดงออกในหลายๆรูปแบบจนกว่าจะพบรูปแบบที่ดีที่สุด เรียกว่า การลองผิดลองถูก |
3ขั้น |
1. เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง2. เมื่อผู้เรียนเกิดการรู้แล้ว ครูสามารถที่จะฝึกให้ผู้เรียนนำการเรียนรู้นั้นไปใช้ในชีวิตประจำวันได้3. การให้ผู้เรียนได้รับผลที่ตัวเองพึงพอใจ จะช่วยให้การเรียน การสอน ประสบความสำเร็จ |
4. |
สกินเนอร์ |
การเรียนรู้โดยการวางเงื่อนไขแบบ Type R และให้ความสำคัญต่อการเสริมแรง |
เป็นการเชื่อมโยงสิ่งเร้ากับพฤติกรรมตอบสนองเช่นเดียวกัน แต่จะให้ความสำคัญต่อการตอบสนองมากกว่าสิ่งเร้า และยังให้ความสำคัญในเรื่องของการเสริมแรง หรือพูดได้ว่าอัตราการเกิดพฤติกรรมตอบสนองขึ้นอยู่กับผลของการกระทำที่เรียกว่า การเสริมแรงหรือการลงโทษทั้งทางบวกและทางลบ |
|
ในการเรียนการสอนครู สามารถที่จะใช้ทฤษฏีนี้ ในการพัฒนาความสามารถของผู้เรียนได้อย่างเต็มที่ ด้วยการเสริมแรงให้กับผู้เรียน เช่น ให้คำชมเมื่อผู้เรียนทำดี และในการลงโทษครูสามารถที่จะลงโทษผู้เรียนในทางบวกได้ |
5. |
เกสตัลท์ |
การเรียนรู้จากการรับรู้และการหยั่งเห็น |
ผู้เรียนมองเห็นความสัมพันธ์ของสถานการณ์ที่เป็นปัญหา แล้วนำความสัมพันธ์นั้นมาใช้ในการแก้ปัญหาได้ ทั้งนั้นในการแก้ปัญหาในแต่ละคนจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสติปัญญา ความสามารถ วุฒิภาวะ และประสบการณ์ที่เคยพบมาในอดีตด้วย |
4ขั้น |
1. ครูสามารถที่จะจัดการเรียนการสอนให้มีความยากง่ายให้เหมาะสมกับระดับของผู้เรียน2. ครูสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้มีความหลากหลาย |
6. |
บันดูรา |
การเรียนรู้จากการสังเกตเเละเลียนเเบบ |
โดยที่บันดูรา กล่าวว่า มนุษย์ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งเเวดล้อม ถึงจะเกิดการสังเกตเเละเลียนเเบบ |
4 ขั้น |
ครูสามารถที่จะเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับผู้เรียนได้ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการเรียนการสอน ในเรื่องการแต่งกาย ฯลฯ |