แนวคิดทาง ปรัชญา
-
กลุ่มไลน์ข่าวการศึกษา
กลุ่มไลน์ข่าวการศึกษา
แนวคิดทาง ปรัชญา
ปรัชญา คือกระบวนการในการตีความและการรับรู้ในสภาวะใดๆอันเป็นความจริงแท้ที่เป็นไปแห่งโลก โดยผู้ศึกษาเกี่ยวกับความจริงแท้ที่เป็นไปแห่งโลกนั้นที่เรียกว่า นักปราชญ์ หมายถึง ผู้ใคร่รู้ การเป็นผู้ใคร่รู้กับสภาวะของการเป็น ผู้มีความรู้นั้นๆ แตกต่างกันในประเด็นที่ว่า ผู้มีความรู้อาจจะพัฒนาความรู้ความชำนาญเรื่องใดๆได้ไม่จำกัด คือสามารถที่จะศึกษาเรียนรู้ได้ทั่วไปในศาสตร์ในแต่ละแขนง ส่วนนักปราชญ์นั้น ต้องมีความชำนาญในเรื่องใดๆก็ตาม(อาจจะเรื่องเดียวหรือหลายเรื่อง)อย่างถ่องแท้จนถึงที่สุด จนเลยของเขตแห่งการรู้แจ้งเห็นจริง เข้าสู่สภาวะที่ปราศจากของเขตแห่งความรู้ในศาสตร์นั้น ก็คือการก้าวข้ามพ้นจากความรู้ออกไป กลายเป็น ความรู้ในขั้นหลังความรู้ การมีความรู้ในขั้นหลังความรู้จะสามารถให้คำพยากรณ์(หมายถึง การทำให้แจ้ง ไม่ใช่การทำนาย) โดยคำพยากรณ์นั้นจะมีผลผูกพันในแง่ของนัยสำคัญแห่งความรู้(ศาสตร์) กับปราชญ์แห่งความรู้นั้นๆ
การเป็นปราชญ์ จึงไม่ได้หมายความถึง การรู้ทุกเรื่อง แต่หมายถึงผู้ที่มีความรู้อย่างลึกซึ้งในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแต่ก่อนที่จะกลายเป็นปราชญ์ได้นั้นก็ต้องผ่านการฝึกฝน-ค้นคว้า-ศึกษา-พัฒนา มาก่อน กล่าวคือ สถานะการเป็นปราชญ์ไม่ใช่กำเนิดสภาพ คือไม่ได้ติดตัวมาตั้งแต่เกิดแบบสภาพทางกายภาพ เช่น เพศ น้ำหนัก ร่างกาย ฯลฯ แต่การเป็นปราชญ์ เกิดจากการฝึกฝนหรือการสร้างขึ้นมา
สภาวะปราชญ์แตกต่างจาก ผู้มีปัญญา เพราะว่าผู้มีปัญญาอาจจะไม่ใช่ปราชญ์ แต่กล่าวได้ว่า ปราชญ์คือผผู้มีปัญญา ปราชญ์ คือผู้มีปัญญารูปแบบหนึ่ง แต่ผู้มีปัญญาทุกคนไม่ใช่ปราชญ์เสมอเหมือนกัน ผู้มีปัญญา/ผู้รู้/กูรู จึงเป็น ปฐมเหตุ ในเบื้องต้นแห่งการก้าวข้ามไปสู่ความเป็นปราชญ์ นั่นหมายความว่ามนุษย์ทุกคน ล้วนสามารถที่จะเป็นปราชญ์ได้เท่าๆกัน และเมื่อกล่าว/หรือเชื่อเช่นนั้นแล้วการเป็นปราชญ์ก็อาจจะกลายเป็นกำเนิดสภาพขึ้นมาได้ แต่อาจจะเป็นเพียงแค่ความสามารถแฝงไม่ได้แสดงออกมาพร้อมสภาวะกำเนิด ซึ่งมันต้องผ่านข้อจำกัดมากมายหลายเงื่อนไขจนกว่าจะพัฒนาไปสู่ ปราชญ์สภาพ ได้ การศึกษาและตีความในเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับการเป็นไปของโลก จึงเรียกตามผู้ศึกษาว่า วิชาปรัชญา การศึกษาวิชาปรัชญาในช่วงยุคแรกๆ เน้นในเรื่องที่อยู่นอกเหนือไปจากความสามารถในการรับรู้ได้ของมนุษย์ คือการแสวงหาคำตอบในเรื่องที่มนุษย์ไม่อาจรู้ได้ เช่น ตายแล้วไปไหน? อะไรทำให้คนเกิดขึ้นมา? ทำไมน้ำจึงมีลักษณะอย่างนั้น ? ฯลฯ ความรู้ความสงสัยส่วนใหญ่จึงอยู่กับสิ่งภายนอก รวมทั้งความสนใจในการมีชีวิตที่ดีของมนุษย์ จนบังเกิดคำถามที่ว่า ชีวิตที่ดีคืออะไร? (จากแนวความคิดของปรัชญาเมธีกรีก นับเนื่องจากโซกราตีส ที่ตั้งคำถามนี้กับศิษยานุศิษย์ สืบต่อมาจนถึง เพลโต และ อริสโตเติล ก็ยังไม่อาจที่จะให้คำตอบนี้ได้อย่างชัดเจนเป็นรูปธรรมในเรื่องดังกล่าวได้ แต่เป็นที่แน่นอนว่าสภาวะแห่งการมีชีวิตที่ดีนั้นเป็นสิ่งที่มนุษย์พอใจจึงอาจจะให้คำตอบได้ว่า สภาวะใดก็ตามที่มนุษย์รู้สึกพอใจ แสดงว่า ณ เวลานั้นๆเขากำลังมีชีวิตที่ดี จึงเป็นการแสวงหาคำตอบโดยใช้แนวความคิดแบบอัตถิภาวนิยม)
เมื่อมนุษย์ไม่สามารถให้คำตอบได้อย่างแน่ชัดว่าชีวิตที่ดีคืออะไร(หมายถึง ยังไปไม่ถึงการเป็นองค์ความรู้ทางสังคม) การแสวงหาคำตอบดังกล่าวจึงเป็นหน้าที่ของนักปราชญ์ กระทั่งกลับกลายเป็นการแสวงหาที่ไม่มีที่สิ้นสุด จากการมุ่งศึกษาความเป็นไปของธรรมชาติสู่การศึกษาถึงสาเหตุแห่งความเป็นไปของสภาวะนั้นๆ ที่เรียกว่า อภิปรัชญา ที่มุ่งค้นหาคำตอบอันอยู่นอกเหนือจาก สัมผัสรู้ ของมนุษย์ กล่าวคืออยู่นอกเหนือกฎเกณฑ์ที่กระบวนการแสวงหาความรู้แบบ ศาสตร์ จะกระทำได้ อริสโตเติล กล่าวถึงอภิปรัชญาว่าอยู่หลังฟิสิกส์(หรือศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องธรรมชาติ/ภาวะของธรรมชาติ) นักคิดในยุคหลัง บ้างก็ตีความว่าเป็นความบังเอิญที่อริสโตเติลกล่าวถึงหลักการแสวงหาความรู้อย่างเป็นนามธรรมไว้หลังฟิสิกส์ แต่แท้ที่จริง อริสโตเติล ได้แบ่งแยกวิธีการในการแสวงหาความรู้ไว้อย่างชัดเจน กลายเป็นรากฐานของสองแนวคิดสำคัญๆ คือ แนวคิดแบบวัตถุนิยม และแนวคิดแบบจิตนิยมในปัจจุบัน
——————–
แนวความคิดของนักปรัชญายุคโบราณ
โดยแท้ที่จริงแล้ว เราไม่อาจบ่งชัดลงไปได้อย่างแน่นอนว่า ปรัชญาตริตรองในปัญหาใดกันแน่ เราสาามารถบอกได้ชัดเจนว่า ตัวเลขเป็นเนื้อหาของวิชาเรขาคณิต ปรากฏการณ์ธรรมชาติเป็นเนื้อหาของวิชาวิทยาศาสตร์ แต่แท้จริงเราไมม่อาจกำหนดได้ว่าอะไรเป็นเนื้อหาของวิชาปรัชญา ทั้งนี้เพราะปรัชญาหมายถึง การรัก การสงสัย การมองเห็นปัญหาที่ยังเป็นปัญหา และการพยายามหาคำตอบที่เป็นไปได้สำหรับปัญหานั้น ๆ และปรัชญาก็เริ่มตั้งแต่สมัยมนุษย์ดึกดำบรรพ์จวบจนทุกวันนี้ ดังนั้นสิ่งที่เป็นปัญหาหรือสิ่งที่มนุษย์สงสัย จึงมมีอยู่มากมายจนไม่อาจให้ข้อจำกัดลงไปได้ ขอบเขตของวิชาปรัชญาจึงมีอยู่กว้างขวางมาก และก็มีวิวัฒนาการเป็นยุคสมัยต่าง ๆ พอที่จะแบ่งออกได้ดัง เช่น
ปรัชญาดึกดำบรรพ์ ตั้งแต่เริ่มมีมนุษย์ในโลกครั้งแรก ไม่มีการบันทึกเป็นหลักฐาน
ปรัชญายุคโบราณ หมายถึง ปรัชญาของชนชาติโบราณนับตั้งแต่เริ่มต้นมีหลักฐานและทำการบันทึกไว้
ปรัชญายุคกลาง หมายถึง ปรัชญาของมนุษย์ ซึ่งอยู่ในระหว่างปี ค.ศ. 529-ปี ค.ศ. 1500
ปรัชญายุคใหม่ หมายถึง ปรัชญาของมนุษย์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1500 เป็นต้นจนมาถึงสมัยปัจจุบัน
ธาเลส (Thales)
อานักซิมานเดอร์ (Anaximander)
อานักซิเมเนส (Anaximenes)
ไพธากอรัส (Pythagoras)
เฮราคลีตุส (Heraclitus)
เซโนฟาเนส (Xenophanes)
ปาร์มีนิเดส (Parenides)
เซโนแห่งเอเลีย (Zeno of elea)
เอมเปโดเคลส (Empedocles)
อานักซาโกรัส (Anaxagoras)
เดมอคริตุส (Democritus)
โปรแทกอรัส (Protagoras)
โสคราตีส (Socrates)
พลาโต้ (Plato)
อาริสโตเติ้ล (Aristotle)
เซนต์ ออกัสติน (St. Augustine ค.ศ. 354-430)
มาเคียเวลลี่ (Nicolo Machiavelli ค.ศ. 146-1527)
โธมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes 1588-1679)
จอหน์ ลอค (John Locke 1632-1714)
รุสโซ (Jean – Jacqnes Rousseau 1712-1778 )
เบ็นธัม (Jereny Bemtham 1748-1832)
มิลล์ (J.S.Mill 1806-1873)
มาร์กซ์ (Karl Marx 1818-1883)
ที่มา : https://dhrammada.wordpress.com/philosophyreligion/%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%8D%E0%B8%B2/